ศาศวัต ศิริสรรพ์ SQ ผงาดงานเหมืองภูมิภาค
มากกว่า 3 ทศวรรษของการบุกเบิกงานรับเหมาโครงการเหมืองแม่เมาะสร้างชื่อให้ สหกล อิควิปเมนท์ เป็นที่รู้จักในอาเซียน สู่การขยายฐานธุรกิจเหมืองถ่านหินเมืองหงสา (Hongsa) พร้อมเดินหน้ารุกเหมืองดีบุกในเมียนมาคว้าโอกาสใน CLMV มั่นใจรายได้ 5 พันล้านใน 3 ปี
เรื่อง: พรพรรณ ปัญญาภิรมย์ ภาพ: กิตติเดช เจริญพร
รากฐานความสําเร็จอันแข็งแกร่ง ที่ริเริ่มจากงานรับเหมาก่อสร้าง งานวิศวกรรมโยธา โดยวิศวกร ที่เล็งเห็นโอกาสสร้างการเติบโต ทางธุรกิจตามนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งกระจายความเจริญ สู่ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเฉพาะงานก่อสร้างถนนเชื่อมต่อการเดินทางและ ระบบโลจิสติกส์ของประเทศในปี 2513 ภายใต้ชื่อ บริษัท สหกลเอนยิเนียร์ จํากัด และนําความเชี่ยวชาญดังกล่าวเป็นใบเบิกทางต่อยอดสู่การลงนามสัญญา จ้างเหมาขุด-ขนดิน โครงการที่ 1 กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในปี 2526
“เรามองหาโอกาสใน CLMV ไม่จํากัดเฉพาะ เหมืองถ่านหิน รวมทั้ง รักษาฐานที่เหมืองแม่เมาะ และหงสาไว้ พร้อม เป้าหมายการเป็นเจ้าของเหมืองในอนาคตแทนการรับเหมาอย่างเดียว”
“บริษัทเริ่มตั้งแต่สมัยคุณพ่อเป็นวิศวกร – ในช่วงปี 2513 ท่านเล็งเห็นโอกาสจาก เมืองไทยขยายการสร้างถนน เราจึงเริ่มจาก งานรับเหมาก่อสร้างถนนก่อน งานดิน ทั้งหลาย จนกระทั่งการไฟฟ้าขยายเหมืองแม่เมาะ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ที่สุดของประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจกําลังขยายตัว และต้องการใช้ไฟฟ้ามาก ขณะนั้นผม เรียนจบและช่วยงานคุณพ่อ โดยเริ่มจากเรียนรู้งานทุกแผนกทั้งออฟฟิศและปฏิบัติการ”
ศาศวัต ศิริสรรพ์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จํากัด (มหาชน) (SQ) เล่าถึงก้าวแรกใน ธุรกิจของครอบครัวหลังสําเร็จการศึกษา วิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ MBA จาก Ohio University สหรัฐอเมริกา
นับจากสัญญาฉบับแรกในการเป็นผู้รับผิดชอบเปิดหน้าดิน ขุดขนดิน และ ถ่านหินให้เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลําปาง ระหว่างปี 2526-2533 มูลค่าโครงการ 3.54 พันล้านบาท และโครงการที่ 2 ระหว่างปี 2533-2541 มูลค่าโครงการ 9.87 พันล้านบาท ด้วยความมั่นใจในประสบการณ์ที่สั่งสมและโอกาสทางธุรกิจที่ฉายชัด บริษัทพร้อมเดินหน้าธุรกิจด้านการให้บริการและดําเนินงานเหมืองแร่ครบวงจร ภายใต้ชื่อ บริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จํากัด ในปี 2544
นอกจากนั้น บริษัทยังให้บริการครอบคลุมถึงการวางแผนงานเหมือง การปฏิบัติงาน เปิดหน้าเหมือง การให้คําปรึกษาด้านงานเหมือง การให้เช่าและซ่อมบํารุงเครื่องจักร ขนาดใหญ่ ทั้งยังใช้ทักษะความเชี่ยวชาญ ด้านการรับเหมาก่อสร้างโยธา โดยรับงาน ก่อสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกที่จําเป็น สําหรับการทําเหมือง เช่น ถนน ที่พักอาศัย เป็นต้น
“ช่วงเวลานั้นยังไม่มีผู้รับเหมาของไทย เคยทําเหมืองขนาดนี้ โดยต้องอาศัย ผู้รับเหมาที่มีความชํานาญในการขุดขนดิน เช่น ผู้รับเหมางานทางและงานเขื่อน รวมถึง การลงทุนสูง เราต้องสังเครื่องจักรจาก ต่างประเทศเยอรมันที่มีเหมืองเปิดขนาดใหญ่ที่สุด ในโลก ซึ่งตั้งแต่ปี 2524 ที่เริ่มประมูลและ เริ่มโครงการแรกปี 2526 แม่เมาะประมูล แล้ว 9 เฟส เรามีส่วนร่วมได้รับงานทั้งหมด มากบ้างน้อยบ้างในแต่ละเฟส แต่ประสบการณ์ในแม่เมาะถือว่ามากที่สุด และเครื่องมือที่ได้เปรียบ”
สําหรับกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจที่ทําให้ บริษัทสามารถคว้างานประมูลโครงการรับเหมาเหมืองถ่านหินได้เป็นระยะเวลา ยาวนาน ประกอบด้วย ประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญในการทํางาน โดยเฉพาะ ด้านการขุดและขนถ่านหินที่เป็นงานต้องใช้ ความชํานาญอย่างมาก รวมถึงทักษะความรู้ และความเข้าใจในการพัฒนาการดําเนินงาน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบุคลากรในองค์กรนับตั้งแต่ ผู้บริหารถึงฝ่ายปฏิบัติการล้วนมีส่วนสําคัญ ในการขับเคลื่อนสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ
ขณะเดียวกันผลงานโครงการที่ผ่านมายัง เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สร้างความเชื่อมั่นให้กับ บริษัท ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการของ กฟผ. ตั้งแต่ปี 2526 และได้รับความไว้วางใจจากกฟผ. ในการทําเหมืองถ่านหินโดยตลอด ทั้งยังสามารถเข้าทําสัญญากับโครงการ หงสา สปป.ลาว โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ขนาด 1,878 เมกะวัตต์ นับเป็นหนึ่งใน โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาดใหญ่ในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“หนึ่งในความท้าทาย คือ การส่งมอบ ให้ได้ตามสัญญา ซึ่งระบุเวลาและปริมาณ ชัดเจน เราต้องคํานวณเครื่องจักรและ บริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะ ช่วงฤดูฝนที่มีการใช้สถิติวัดค่าเฉลี่ยเพื่อ เลือกเครื่องจักรให้เหมาะสมกับสภาพ อากาศ รวมถึงงานประมูลที่กําหนดราคา คงที่ ส่งผลให้การควบคุมต้นทุนการทํางาน รายได้ หรือรายจ่ายตามงบประมาณ เป็น เรื่องสําคัญ”
นอกจากนั้น บริษัทยังมีความพร้อมด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งมีความจําเป็น สําหรับธุรกิจให้บริการขุดเหมืองเป็นอย่าง มาก ไม่ว่าจะเป็น รถขุดบุ้งกี่หมุน รถขุด และบรรทุก ระบบสายพาน เครื่องโม่ เครื่องโปรยดิน และเครื่องจักรช่วย เช่น รถแทรกเตอร์ รถเกรด รถบรรทุก รถเครน ซึ่งบริษัทมีเครื่องจักรที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตเครื่องจักร ทําให้มีความพร้อมที่จะเข้าไปประมูลและ ดําเนินงานในเหมืองอื่น ๆ ในอนาคต
รวมถึงบริษัทยังมีเทคโนโลยีในการ ทําเหมืองแร่ที่ก้าวหน้า เช่น เทคโนโลยี เซนเซอร์เลเซอร์ 3 มิติ (3D Laser Sensors) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตามการทํางาน ของเครื่องจักร และเทคโนโลยี AutoSonde ช่วยให้การเจาะหลุมเพื่อจุดระเบิด ง่ายขึ้น ทําให้การทํางานเป็นไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น ตลอดจนประสิทธิภาพของงานซ่อมบํารุง ที่สนับสนุนให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ของ บริษัทมีความพร้อมใช้งานได้เป็นอย่างดี
หนึ่งในความท้าทายของงานรับเหมาเหมืองที่ทําให้ SQ สามารถก้าวเป็นผู้นําทางธุรกิจ ได้แก่ การบริหารจัดการเครื่องจักร-นาดใหญ่ การดูแลรักษา และการซ่อมบํารุงให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
FORBES FACTS
• ศาศวัตลงพื้นที่เดินทางไปยังเหมือง แม่เมาะเป็นประจําเดือนละ 2 ครั้ง และประชุมที่หงสาทุกเดือน
• การทําเหมืองในลาวและเมียนมา ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบด้าน สิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด โดยน้ําที่ ปล่อยจากเหมืองดีบุกของเมียนมา ต้องมีบ่อตกตะกอน เพื่อเก็บตัวอย่าง วัดค่าตะกอนให้ได้มาตรฐาน
• ผลสํารวจทางธรณีวิทยาพบว่า แหล่งดีบุกเมืองทวาย เป็นหนึ่งในแหล่ง ดีบุกขนาดใหญ่ของโลกที่ปริมาณ แร่ดีบุกสามารถรองรับการทํา เหมืองแร่อีกกว่า 30 ปี
“เราเน้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการ ดูแลชุมชนโดยรอบ ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่ ของเราทํางานในเหมืองมากกว่า 30 ปี ต่อเนื่องถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน เราพยายาม ไม่ทําอะไรที่กระทบกับชุมชน รวมถึงเรื่อง สิ่งแวดล้อมที่ใช้มาตรฐานระดับโลก ทั้งฝุ่น เสียง แรงสั่นสะเทือน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ สเปรย์น้ําลดฝุ่นจากรถวิ่งหรือสายพาน การระเบิดให้เกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยที่สุด และไกลจากชุมชนมากที่สุด และการปลูกไม้ใหญ่เป็นแนวกันเสียงด้านที่ติดกับชุมชน อยู่อาศัย”
ทั้งนี้ ในปัจจุบันบริษัทได้มีการร่วมลงทุน บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ในอัตรา 50% เท่ากันในกิจการ ร่วมค้าไอทีดี-เอสคิว และกิจการร่วมค้า เอสคิว-ไอที่ดี โดยเป็นผู้รับผิดชอบในการ เปิดหน้าดิน ขุดขนดินและถ่านหินให้กับ เหมืองถ่านแม่เมาะ จ.ลําปาง ซึ่ง กฟผ. เป็นผู้ว่าจ้าง ในโครงการ 7 ระหว่าง ปี 2551-2563 และโครงการ 7 ที่สิ้นสุด ในเดือนกันยายน 2558 ด้วยมูลค่าโครงการ เท่ากับ 2.19 หมื่นล้านบาท และ 5.27 พันล้านบาท ตามลําดับ และโครงการ 8 ในโครงการ เหมืองแม่เมาะ ซึ่งมีระยะเวลาตามสัญญา ระหว่างปี 2559- 2568 รวมถึงการขยายฐานธุรกิจไปยัง สปป.ลาว และเมียนมา
เหมืองหงสา / ทวายเบิกทาง
ท่ามกลางการเติบโตทางธุรกิจอย่าง ต่อเนื่อง ศาศวัตยังมองหาโอกาสกระจายความเสี่ยงและเพิ่มผลกําไรให้กับบริษัท นอกเหนือจากเหมืองแม่เมาะที่เป็นรายได้หลักเพียงอย่างเดียว โดยให้ความสนใจ เหมืองขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศกัมพูชา เมียนมา สปป.ลาว และเวียดนาม (CLMV) ด้วยความมั่นใจในข้อได้เปรียบที่ทําให้ธุรกิจ สามารถสร้างรากฐานได้อย่างแข็งแกร่งใน ประเทศไทยมากกว่า 35 ปี
“เราสนใจลาวตั้งแต่ 20 กว่าปีก่อนและ เคยเข้ามาศึกษาลู่ทางธุรกิจไว้ในช่วงที่เขา ไม่ได้เปิดมาก และเรายังไม่ได้พร้อมมาก กระทั่ง 5 ปีที่แล้ว ลาวเปิดโรงไฟฟ้าหงสาและต้องการใช้ถ่านหินจากเหมืองขนาดใหญ่ เมืองหงสา โรงไฟฟ้าราชบุรีและบ้านปูเป็น บริษัทที่ได้รับสัมปทานที่นั่น การที่เข้าไปทํา และคุยกับคนไทยด้วยกันง่ายกว่า รวมถึง ลาวยังมีแหล่งทรัพยากรอีกมาก ถ้าเราเข้าไป ลงหลักปักฐานและสร้างผลงานให้เกิดความ เชื่อมั่นได้ว่า เราสามารถทําได้จริง” ศาศวัต กล่าวถึงการขยายธุรกิจไปประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2557 เริ่มที่โครงการเหมืองหงสา สปป. ลาว ระหว่างปี 2558-2559 โดยร่วมงานขุดเหมืองกับบริษัทผลิตไฟฟ้า Hongsa Power Co., Ltd. (HPC)
นอกจากนั้น บริษัทยังดําเนินกลยุทธ์ ขยายตลาดในภูมิภาค CLMV อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการเซ็นสัญญาจ้างเหมาผลิต แร่ดีบุกที่เหมืองดีบุก เมืองทวาย (Dawei) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งเป็นงานรับทําเหมือง ดีบุกแบบครบวงจร ตั้งแต่งานขุดขนหน้าดิน งานขุดขนแร่ดิบ งานบริหารการแต่งแร่ และงานขนหางแร่จากโรงแต่งแร่ไปที่ทิ้งดิน ให้กับบริษัท เมียนมาร์ พงษ์พิพัทธ์ จํากัด มูลค่าสัญญา 3.67 พันล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี โดยมีปริมาณการผลิตแร่ดีบุกปีละ ประมาณ 2,100 ตัน
“เมียนมามีแหล่งดีบุกบนดินที่ใหญ่มาก ทํามาเป็นร้อยปี แต่ระบบและเครื่องจักร ค่อนข้างล้าสมัยและหยุดทําไปนานในช่วงที่ ราคาดีบุกลดลง จนกระทั่งเริ่มมีประเด็น สิ่งแวดล้อมให้ใช้ดีบุกแทนตะกั่ว โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทําให้ดีบุก ราคาขึ้น เขาจึงติดต่อเข้ามาหาเรา ด้วย ความเชื่อมั่นในชื่อเสียงและผลงานการทํา เหมืองขนาดใหญ่ ซึ่งเขาต้องการเพิ่มปริมาณ การผลิตจาก 100 ตันต่อปี เป็น 2,000 ตัน ต่อปี หรือประมาณ 20 เท่า”
อย่างไรก็ตาม โครงการเหมืองดีบุกเมืองทวายยังไม่ได้รับการเดินเครื่องอย่างเต็มรูปแบบ โดยในระยะแรกบริษัทเริ่มดําเนินการ ขุดขนดินที่เหมืองดีบุกประมาณ 6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเทียบกับหงสา 18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และเหมืองแม่เมาะ 50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี พร้อมทั้งดําเนินการสํารวจพื้นที่ที่มีศักยภาพควบคู่กัน
“เนื่องจากสัมปทานเหมืองตรงนั้นมี ระยะเวลาประมาณ 30 ปี ซึ่งเหลืออีก 3 ปี เราอาจจะต้องรอนโยบายเมียนมาสักระยะ ให้เขาได้ต่อปี 30 ปี เราจึงขนเครื่องจักร ขนาดใหญ่เข้าไป โดยน่าจะเข้าที่และ เดินเครื่องได้จริงเห็นรายได้ปีหน้าประมาณ 600-700 ล้านบาท ส่วนที่ลาวเราทํามา 3 ปี รายได้ประมาณ 600-700 ล้านบาท หรือ 30% ของรายได้รวม) อนาคตน่าจะ ขยายได้อีก ทั้งเมียนมาและลาวจาก ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่จํากัดเฉพาะเหมือง ถ่านหินหรือดีบุก ซึ่งรวมแล้วรายได้เป้าหมายใน 3 ปีน่าจะมากกว่า 5 พันล้านบาท”
300 ล้านตัน ปริมาณถ่านหินคาดการณ์ในเหมือง แม่เมาะ แหล่งผลิตถ่านหินที่สําคัญในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการvองการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยสหกลอิควิปเมนท์ได้รับ เสถียรภาพจากสัญญาจ้างงานระยะยาวกับ การว่าจ้างให้เปิดหน้าเหมือง ด้วยการ ขุดขนดินและถ่านของเหมืองแม่เมาะ โครงการ 1 โครงการ 2 โครงการ 7โครงการ 7/1 และโครงการ 8
ด้านกลยุทธ์และความท้าทายของงาน รับเหมาเหมืองแต่ละประเทศมีความ แตกต่างกัน โดยเหมืองแม่เมาะมุ่งเน้นการบริหารจัดการระบบการทำงาน เนื่องจากมี การลงทุนสูงทั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่ การเคลื่อนย้าย การบํารุงรักษาหรือซ่อมแซมที่ต้องใช้อะไหล่สั่งผลิตพิเศษ
ส่วนลาวเป็นเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีมากกว่า 400 คน โดยเป็นคนท้องถิ่นเกือบทั้งหมด (เหมืองแม่เมาะมีคนงานราว 1,000 คน) สําหรับเมียนมาในช่วงแรกจะเป็นเรื่องกฎระเบียบของประเทศ พื้นที่การทํางานที่ต้องสํารวจค้นหาศักยภาพเพิ่มเติม และเส้นทางโลจิสติกส์ที่ชํารุดต้องปรับปรุงซ่อมแซม
ขณะที่ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตองค์กรของบริษัทที่ระดับ “BBB-” จากการเป็น ผู้ประกอบการชั้นนําในธุรกิจบริการขุดขนดินและถ่านหิน รวมถึงกระแสเงินสดที่มีเสถียรภาพจากสัญญาจ้างงานระยะยาวกับเจ้าของงาน ซึ่งฐานะทางการเงินมีความ น่าเชื่อถือสูง และมูลค่างานที่รอรับรู้รายได้ จํานวนมาก อย่างไรก็ตามจุดแข็งดังกล่าว ได้รับการลดทอนบางส่วนจากภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงและความเสี่ยงการกระจุกตัวของ ธุรกิจที่รายได้และกําไรส่วนใหญ่ของบริษัท มาจากโครงการขนาดใหญ่จํานวนไม่มาก
ด้านจุดแข็งของบริษัทในมุมมองของทริสเรทติ้ง ได้แก่ ผลงานที่ยาวนานและได้รับการยอมรับด้วยทีมวิศวกรเหมืองแร่ที่ มีประสบการณ์สูงและเครื่องจักรที่ใช้ในงานเหมืองที่มีความพร้อม ทั้งยังขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นับเป็นการเริ่มต้นสู่โอกาสใหม่ในการขยายงานไปต่างประเทศ รวมถึงกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากสัญญา จ้างงานระยะยาวของ กฟผ. ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างหลักที่มีความเสี่ยงต่ำ และมีมูลค่างานยังไม่ส่งมอบหรือ backlog จํานวนมาก
สําหรับมูลค่างานที่ยังไม่ส่งมอบ ณ เดือน มีนาคม 2561 มีจํานวนราว 3.43 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย โครงการขุดขนดินและ ถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ ระยะที่ 7 (ช่วงปี 2555-2563) มูลค่า 849 ล้านบาท โครงการ ขุดขนดินและถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ ระยะ ที่ 8 (ช่วงปี 2559-2568) มูลค่า 2.02 หมื่นล้านบาท โครงการเหมืองหงสาใน สปป.ลาว (ช่วงปี 2558-2569) มูลค่า 9.64 พันล้าน บาท และโครงการเหมืองดีบุกในประเทศ เมียนมา (ช่วงปี 2561-2567) มูลค่า 3.67 พัน ล้านบาท โดยทริสเรทติ้งคาดการณ์รายได้ ของบริษัทในช่วงประมาณ 3.5-4 พันล้าน บาทในปี 2561-2563
ส่วนเหตุการณ์ดินถล่มเมื่อปลายเดือนมีนาคมในพื้นที่ทิ้งดินของ กฟผ. ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโครงการเหมืองแม่เมาะระยะที่ 8 ที่ทําให้ระบบสายพานลําเลียงและเครื่องจักร บางส่วนได้รับความเสียหาย ส่งผลต่อต้นทุน การดําเนินงานในโครงการสูงขึ้น โดยบริษัทอยู่ระหว่างการเรียกร้องค่าชดเชยความ เสียหายจาก กฟผ.
ทริสเรทติ้งมองว่าการเกิดดินถล่มเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวและผลการดําเนินงานน่าจะ กลับมาเติบโตได้ในระดับปกติหลังจาก โครงการระยะที่ 8 ดําเนินการได้เต็มที่ ในช่วงครึ่งหลังปี 2561
ศาศวัตกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลขาดทุน ช่วงครึ่งปีแรกราว 96.22 ล้านบาทจากต้นทุนโดยรวมของบริษัทที่เพิ่มขึ้นราว 375.06 ล้านบาท หรือ 30.8% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากต้นทุนค่าเสื่อมราคาโครงการ แม่เมาะ 8 เพิ่มขึ้น 102.1 ล้านบาทจาก การปรับแผนการทํางานที่ต้องใช้รถบรรทุกทํางานแทนระบบสายพานและต้นทุนค่าเสื่อมราคาโครงการแม่เมาะ 8 เพิ่มขึ้น จํานวน 142.3 ล้านบาทจากจํานวน เครื่องจักรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนค่าแรงงาน เพิ่มขึ้นจํานวน 37.4 ล้านบาทและต้นทุน น้ํามันโครงการหงสาเพิ่มขึ้นจํานวน 47.8 ล้านบาทจากราคาของน้ํามันเฉลี่ยที่สูงขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะสามารถพลิกฟื้น ทํากําไรได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 เนื่องจากสายพาน สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และขนส่งดินได้เพิ่มขึ้น 4 เท่า ทั้งยังไม่ได้รับผลกระทบ ตามปัจจัยฤดูกาลเหมือนช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงการเพิ่มกําลังการผลิตใน โครงการหงสา โดยเพิ่มจํานวนรถขุดและ รถบรรทุกขนาดเล็กเพื่อทํางานขุดขนดิน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 น่าจะส่งผลให้ ปริมาณการผลิตมากขึ้นได้
“ดินที่สไลด์ลงมาโดนเครื่องจักรของเรา ทําให้ต้องย้ายและติดตั้งเครื่องจักรใหม่เพื่อหนีแนวดินสไลด์เหมือนตัดถนนและทํา สะพานใหม่ขึ้นมาใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน แม้จะโดนประมาณกิโลเดียวจากสายพาน 10 กิโลเมตร แต่เมื่อหายไปก็ต้องหยุดทั้งระบบ ช่วงนั้นเราต้องหยุดงานเกือบทั้งไตรมาส การเติบโตปีนี้จึงน่าจะเพิ่มขึ้น 20% ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 30% แต่ ปีหน้ารายได้น่าจะเติบโตมากกว่า 30%”
ภายใต้ปริมาณงานที่เซ็นสัญญาแล้ว คงเหลือประมาณ 3.49 หมื่นล้านบาท ซึ่งสามารถรองรับการรับรู้รายได้อีกประมาณ 9 ปี ประกอบด้วย โครงการแม่เมาะ8 มูลค่าประมาณ 1.98 หมื่นล้านบาทโครงการหงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มูลค่าประมาณ 1.05 หมื่น ล้านบาท โครงการแม่เมาะ 7 มูลค่า ประมาณ 905 ล้านบาท และโครงการ เหมืองแร่ดีบุก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มูลค่าประมาณ 3.67 พันล้านบาท
ผู้บริหารวัย 55 ปีย้ําความมั่นใจการเติบโต เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายใน 3 ปีจากในปี 2560 ที่มีรายได้รวมจํานวน 3.19 พันล้านบาทและช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้จํานวน 1.66 พันล้านบาท ภายใต้สินทรัพย์รวม 1.19 หมื่นล้านบาท พร้อมเป็นผู้นําในธุรกิจรับเหมาเหมืองขนาดใหญ่ที่มีกระบวนการทํางานซับซ้อน ด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมรวมถึงเงินลงทุนจํานวนมาก ทําให้มีโอกาสเกิดคู่แข่งรายใหม่ได้ยาก
“ถ้าในด้านประสบการณ์เราเป็นอันดับ 1 แน่นอน เรามีการถ่ายทอดประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่นและผสมผสานการทํางานคนรุ่นใหม่กับพนักงานระดับท็อป 20-30 ปีรวมถึงเลือกเครื่องจักรที่เหมาะกับสภาพของงาน โดยในอนาคตเราต้องการเป็น เจ้าของเหมืองในภูมิภาคนี้ และรักษาความเป็นผู้นําเหมืองเปิด”
Comments are closed.